แรงบันดาล ที่ทำให้อยากเรียนเรื่อง Font ลองดู
ARTD2304-Typography Design
วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559
ความแตกต่างของไทป์เฟซกับฟอนต์
บุคคลทั่วไปมักใช้คำว่า ฟอนต์ (font/fount) เรียกแทนไทป์เฟซ หรือใช้เรียกสลับกัน แต่ในความจริงแล้วมีความหมายที่แตกต่างกัน ไทป์เฟซหมายถึงชุดตัวอักษรที่มีรูปแบบเดียวกัน ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่เล็กเท่าไร เช่น Arial, Arial Bold, Arial Italic และ Arial Bold Italic ต่างเป็นไทป์เฟซคนละชนิดกัน ส่วนฟอนต์จะหมายถึงชุดตัวอักษรที่มีทั้งไทป์เฟซและขนาดเดียวกัน ตัวอย่างเช่น Arial 12 พอยต์ก็เป็นฟอนต์หนึ่ง Arial 14 พอยต์ก็เป็นฟอนต์หนึ่ง Arial Bold 14 พอยต์ก็เป็นอีกฟอนต์หนึ่ง เป็นต้น ในการสร้างเอกสารแบบดิจิทัล ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนขนาดฟอนต์ได้เองในคอมพิวเตอร์ ทำให้ความแตกต่างของไทป์เฟซกับฟอนต์จึงลดความสำคัญลงไป
สำหรับตระกูลหรือสกุลของตัวอักษร (font/type family) มีความหมายกว้างกว่าไทป์เฟซ กล่าวคือ แบบตัวอักษรชื่อเดียวกันที่อาจมีรูปแบบต่างๆ กัน ถือเป็นแบบอักษรตระกูลเดียวกัน โดยปกติจะมี 4 รูปแบบคือ roman, italic, bold, bold italic แบบอักษรบางตระกูลอาจมี narrow, condensed หรือ black อยู่ด้วยก็ได้ ดังนั้น Arial, Arial Bold, Arial Italic และ Arial Bold Italic ทั้งหมดเป็นแบบอักษรในตระกูล Arial ในขณะที่ Helvetica หรือ Courier ก็เป็นอีกตระกูลหนึ่ง
อักษรไทยกับไทป์เฟซ
ผู้ใช้ส่วนมากสับสนว่า ไทป์เฟซบางชนิดซึ่งมีอักษรไทย สามารถจัดรูปแบบอักษรไทยด้วยไทป์เฟซนั้นๆได้ในโปรแกรมประยุกต์บางโปรแกรมได้ แต่กลับไม่สามารถใช้กับโปรแกรมประยุกต์หลายๆโปรแกรม เช่น ไม่สามารถใช้ไทป์เฟซอักษรไทย ในโปรแกรม อะโดบี โฟโตชอป และ อะโดบี อิลลัสเตรเตอร์ ได้ และมักโทษผู้ผลิตโปรแกรมประยุกต์นั้นๆ แต่อันที่จริงแล้ว เป็นเพราะการอ้างอิงตำแหน่งอักษรในการเข้ารหัสไม่ตรงกัน เพราะตำแหน่งอักษรละติน นั้นอยู่ตรงกันอยู่แล้วทั้งในแอสกีและยูนิโคด จึงไม่พบว่าเป็นปัญหา แต่ตำแหน่งของอักษรไทยในรหัสแอสกีและยูนิโคด นั้นไม่ตรงกัน โดยมากมักพบเป็นตัวอักษรละติน/สัญลักษณ์ประหลาดๆ เช่น ฉ กลายเป็น © เป็นต้น โดยมักพบได้กับไทป์เฟซไทยเกือบทุกตระกูล เช่น UPC หรือแม่แต่ไทป์เฟซบางตัวในชุดฟอนต์เพื่อชาติ ก็เป็นปัญหานี้
นอกจากนี้ยังพบว่า ไทป์เฟซตระกูล UPC ที่เคยใช้จัดรูปแบบอักษรละตินบน ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ เวิร์ด 97 ได้นั้น กลับไม่สามารถใช้จัดรูปแบบอักษรละตินใน ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ เวิร์ด 2000 ขึ้นไปได้ จึงมีการปรับปรุงไทป์เฟซตระกูล UPC เป็น New และ DSE ตามลำดับ โดยไทป์เฟซตระกูลดังกล่าวมี 10 แบบคือhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%9B%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%8B
ฟ้อนต์ (Font) คืออะไร
ความรู้เรื่องฟอนท์
ฟอนท์ (Font) หรือรูปแบบตัวอักษรมีอยู่มากมายในวินโดว์ส์ การเลือกใช้งานฟอนท์นั้นขึ้นอยุ่กับความเหมาะสม ในแต่ละเอกสาร คุณมักจะเห็นว่าในเอกสารเดียวกันนั้นมีการใช้ฟอนท์มากกว่า 1 รูปแบบเสมอ ฟอนท์ทุก ๆ ฟอนท์จะมีชื่อประจำตัวอยู่ เช่น Aril, CordiaUPC, JasmineUPC เป็นต้น ฟอนท์บางฟอนท์เป็นฟอนท์สากล คือ รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่ฟอนท์หลาย ๆ ฟอนท์นั้นอาจรุ้จักในวงจำกัดเพราะฟอนท์ดังกล่าวได้ถูกออกแบบไว้ ใช้สำหรับภาษาที่ใช้ในแต่ละประเทศ ตัวอย่างเช่น ฟอนท์ในตระกูล DB หรือ ฟอนท์ที่ลงท้ายด้วย UPC ฟอนท์เหล่านี้เป็นฟอนท์ที่ถูกสร้างให้รองรับการใช้งานกับภาษาไทย เป็นต้น
ปรับเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษรให้ถูกใจ
การเลือกรูปแบบฟอนท์
ฟอนท์ (Font) หรือรูปแบบตัวอักษรมีอยู่มากมายในวินโดว์ส์ การเลือกใช้งานฟอนท์นั้นขึ้นอยุ่กับความเหมาะสม ในแต่ละเอกสาร คุณมักจะเห็นว่าในเอกสารเดียวกันนั้นมีการใช้ฟอนท์มากกว่า 1 รูปแบบเสมอ ฟอนท์ทุก ๆ ฟอนท์จะมีชื่อประจำตัวอยู่ เช่น Aril, CordiaUPC, JasmineUPC เป็นต้น ฟอนท์บางฟอนท์เป็นฟอนท์สากล คือ รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่ฟอนท์หลาย ๆ ฟอนท์นั้นอาจรุ้จักในวงจำกัดเพราะฟอนท์ดังกล่าวได้ถูกออกแบบไว้ ใช้สำหรับภาษาที่ใช้ในแต่ละประเทศ ตัวอย่างเช่น ฟอนท์ในตระกูล DB หรือ ฟอนท์ที่ลงท้ายด้วย UPC ฟอนท์เหล่านี้เป็นฟอนท์ที่ถูกสร้างให้รองรับการใช้งานกับภาษาไทย เป็นต้น
ปรับเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษรให้ถูกใจ
นอกจากการตกแต่งเอกสารด้วยฟอนท์ที่แตกต่างกันแล้ว คุณยังสามารถเปลี่ยนขนาดตัวอักษรเช่น A A A A A หรือ กำหนดให้ฟอนท์มีความแตกต่างจากปกติได้ เช่น ข้อความขีดเส้นใต้ ข้อความพิเศษ ข้อความตัวเอน เป็นต้น วิธีการตกแต่งตัวอักษรไว้ใช้ในเอกสารของคุณ มีดังนี้
การเลือกรูปแบบฟอนท์
ก่อนอื่นต้องขออธิบายว่าฟอนท์มี 2 ประเภท คือ
- ฟอนท์แบบ “True Type fonts” โดยคุณจะเห็นสัญลักษณ์ หรือ นำหน้าชื่อฟอนท์แบบนี้ ซึ่งฟอนท์ True Type จะให้ผลลัพธ์การพิมพ์ที่ตรงกับที่แสดงบนหน้าจอภาพเสมอ
- ฟอนท์แบบ “printer fonts” ฟอนท์แบบนี้อาจมีผลลัพธ์การพิมพ์ที่แตกต่างกับที่คุณเห็นบนหน้าจอ แต่การทำงานที่ได้จะเร็วกว่าแบบแรก
ขั้นตอนการเลือกฟอนท์มีดังนี้
- เลือกข้อความที่ต้องการเปลี่ยนรูปแบบฟอนท์
- Click mouse ที่ลูกศรข้างปุ่ม
- Click mouse เลือกรูปแบบฟอนท์
- ฟอนท์จะเปลี่ยนไปตามที่ต้องการ
การเปลี่ยนขนาดฟอนท์
- เลือกข้อความที่คุณต้องการเปลี่ยนขนาด โดยการ Drag mouse ทับข้อความนั้น
- Click mouse ที่ลูกศรข้างปุ่ม
- เลือกขนาดฟอนท์
ตัวอักษรหนา ตัวเอน และขีดเส้นใต้
- เลือกข้อความที่ต้องการ โดยการ Drag mouse ทับข้อความนั้น
- Click mouse ที่ปุ่มเครื่องมือ ต่อไปนี้
Click mouse ที่ปุ่ม สำหรับทำตัวหนาให้กับข้อความ
Click mouse ที่ปุ่ม สำหรับทำตัวหนาให้กับข้อความ
Click mouse ที่ปุ่ม สำหรับทำตัวหนาให้กับข้อความhttp://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it03/font.htm
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)